วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เงื่อน

เงื่อนเชือก

ชนิดของเชือก
๑. เชือกกาบมะพร้าว ทำจากกาบมะพร้าว มีน้ำหนักเบา ลอยน้ำได้เหมาะหรับใช้ในน้ำ ไม่อมน้ำ นิยมใช้โยงเรือ กำลังงานน้อยกว่าเชือกมนิลาที่มีขนาดเท่ากัน
๒. เชือกป่าน ทำจากต้นเฮมม์ สีเหลือง เส้นใยหยาบ แข็ง ผูกง่ายไม่เหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับน้ำ นิยมชุบน้ำมันจึงเรียกว่า เชือกน้ำมัน เมื่อชุบน้ำแล้วกำลังงานจะน้อยลงกว่าเดิม
๓. เชือกมนิลา ทำจากต้นมนิลามีมากในประเทศฟิลิปปินส์ สีค่อนข้างขาวอ่อนตัวดี มีกำลังมากกว่าเชือกป่าน นิยมใช้เป็นเชือกรอก ทำฐานผจญภัยและในการบุกเบิก ถ้าใช้ในที่แห้งจะทนดี แต่ถ้าเปียกน้ำบ่อย ๆ จะขาดง่าย
๔. เชือกปอ เป็นเชือกทำจากปอกระเจาในประเทศไทย เหมาะสำหรับใช้งานชั่วคราวบนบกเช่น ขันชะเนาะ นั่งร้านเป็นต้น ต้องเก็บรักษาให้ดี ระวังทิ้งไว้ มอด และปลวกกัดกินทำให้ขาดง่าย
๕. เชือกด้าย เป็นเชือกที่ทำจากด้ายดิบ มีสีขาวสะอาด อ่อนนิ่ม ขดม้วนง่าย ไม่มีมอด หรือปลวกอาศัย ใช้ทำแห หรือใช้งานในร่มไม่ถูกแดด
๖. เชือกไนลอน เป็นเชือกที่ทำจากสารสังเคราะห์ มีความทนทานและเหนียวมาก มีความยืดหยุ่นมากกว่าเชือกชนิดอื่น ๆ ผูกยากเพราะคลายตัวง่าย ถ้าดึงมากเชือกยืดได้ เหมาะใช้งานในน้ำ ห้ามอยู่ใกล้ความร้อน หรือใกล้ไฟ
๗. เชือกลวดหรือลวดสลิง ลักษณะคล้ายเชือก แต่ทำจากเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีควั่นเป็นเกลียวมีน้ำหนักและกำลังมาก มีราคาแพงและเกิดสนิมได้ง่าย เหมาะสำหรับยึดเกาะโครงสร้างสูงเช่น ใช้ยึดทำฐานผจญภัยถาวร ยึดเสาโทรทัศน์ หรือหอคอย เป็นต้น มีหลายขนาดให้เลือก 

เงื่อนเชือก แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม คือ 
1. ประเภทต่อเชือกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเชือกให้ยาวขึ้น เช่น
เงื่อนพิรอด
เงื่อนขัดสมาธิ 
เงื่อนประมง 

- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนนายพราน

2. ประเภททำเป็นบ่วง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับคล้องหรือสวมกับหลัก เช่น
เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนผูกคนลาก
- เงื่อนเก้าอี้
- รอกเชือก

3. ประเภทผูกกับวัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึงหรือดึงให้แน่น เช่น
เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนบุกเบิก
เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนผูกถัง
เงื่อนกระหวัดไม้
เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนขันชะเนาะ
เงื่อนผูกประกบ
เงื่อนผูกกากบาท
เงื่อนผูกทแยง


ประโยชน์ของเงื่อนที่จำเป็นแต่ละชนิด 

เงื่อนพิรอด ( Square Knot )
เป็นเงื่อนที่ใช้มากในชีวิตประจำวัน โดยใช้ผูกปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน จะแน่นมากแต่แก้ง่าย เชือกที่ผูกจะต้องมีขนาดที่เท่ากัน มีความเหนียวเท่ากัน
ประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเท่ากัน
2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อมัดห่อสิ่งของ
3. ใช้ผูกเชือกรองเท้า
4. ใช้ผูกโบ ผูกชายผ้าพันแผล หรือทำสลิงคล้องคอ
5. ใช้ต้อปลายผ้าพื่อให้มีความยาวตามที่ต้องการ 



เงื่อนขัดสมาธิ ( Sheet Bend )
เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน โดยใช้เส้นใหญ่ทำบ่วงส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากัน หรือต่างกัน
2. ใช้ต่อปลายเชือกอ่อนกับเชือกแข็ง
3. ใช้ต่อด้าย ( ต่อเส้นด้ายทอผ้า )
4. ใช้ผูกกับขอ หรือบ่วง 



เงื่อนกระหวัดไม้ ( Two Half Hictches )
ประโยชน์
1. ใช้รั้ง โยง หรือผูกกับสมอบกแบบต่าง ๆ
2. ใช้เชือกผูก ดึง และร้อยเข้ากับรอกชนิดต่าง ๆ 



เงื่อนบ่วงสายธนู ( Bowline )
เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อน
ประโยชน์
1. ทำบ่วงคล้องวัตถุ เสาหรือหลัก
2. ใช้ทำบ่วงผูกสัตว์ เช่น วัว ควาย ฯลฯ
3. ใช้คล้องคันธนู
4. ใช้แทนเงื่อนเก้าอี้สำหรับให้คนนั่งเพื่อช่วยเหลือ
5. ใช้ทำบ่วงต่อเชือก 



เงื่อนตะกรุดเบ็ด ( Clove Hitch )
เป็นเงื่อนผูกแน่นแต่แก้ง่าย ใช้ผูกของ ผูกหลัก ผูกตอม่อ เป็นเงื่อนเริ่มต้นของการผูกแน่น
ประโยชน์
1. ใช้แขวนรอก
2. ผูกเชือกกับสมอเรือ
3. ผูกก้อนหินที่ใช้แทนสมอเรือ 



เงื่อนประมง ( Fisherman's Knot )
ประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเล็กเช่น สายเบ็ด สายเอ็น
2. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากัน
3. ผูกคอขวดสำหรับเป็นที่หิ้วถือ
4. ใช้ลากจูกสำหรับเชือกที่มีขนาดใหญ่ 



เงื่อนผูกซุง ( Timber Hitch )
ใช้ปลายเชือกผูก ไม่เปลืองเชือกผูกง่าย แก้ง่าย
ประโยชน์
1. ใช้ลากซุง
2. ใช้มัดลากวัตถุทรงกระบอก หรือทรงกลม
3. ใช้ผูกกับหินเพื่อใช้ถ่วงเป็นสมอเรือ
4. ใช้ผูกกับหินเพื่อแทนสมอบก 



เงื่อนผูกรั้ง ( Tarbuck Knot )
ประโยชน์
1. ใช้ผูกสายเต้นท์ยึดเสาธงเพื่อกันล้ม
2. ใช้รั้งต้นไม้
3. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงและหย่อนได้ 



เงื่อนปมตาไก่ ( A Fingere of Einght Knot )
ใช้ขมวดหัวเชือกที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ถ้าต้องการปมใหญ่ให้ขมวดหลายๆครั้ง
ประโยชน์
1. ใช้ผูกปลายเชือกให้เป็นปม
2. ใช้ผูกกันหัวเชือกลุ่ยชั่วคราว 



ผูกประกบ ( Round Lashing )
มีหลายชนิด เช่น ประกบสอง ประกบสาม ประกบสี่ เป็นต้น
ประโยชน์
- ต่อไม้ให้ยาว หรือมัดไม้เข้าด้วยกัน
- ทำให้ได้ไม้ที่มีความยาวสำหรับงานก่อสร้าง 
วิธีการผูก
1. เริ่มต้นด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด แล้วแต่งงานเชือก
2. พันรอบไม้ที่ต้องการผูกแบบเรียงเส้น
3. พันหักคอไก่
4. ลงท้ายด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด 



ผูกกากบาท ( Square Lashing )
ส่วมมากใช้ผูกไม้ที่ไขว้กันในลักษณะกากบาทกัน
ประโยชน์
- ใช้ในงานก่อสร้าง ทำนั่งร้านทาสีอาคาร
- ใช้ในงานสร้างค่ายพักแรม
วิธีการผูก
1. ขึ้นต้นด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด แล้วแต่งงานเชือก
2. พันไม้สลับกันทั้ง 4 ด้าน แบบเรียงเส้น
3. พันหักคอไก่
4. ลงท้ายด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด 



ผูกทแยง ( Diagonal Lashing )
ส่วนมากใช้ผูกไม้ที่มีลักษณะไขว้กันที่ไม่เป็นมุมฉากกัน ( กากบาท )
ประโยชน์
- ใช้ในงานก่อสร้าง
- ใช้ค้ำ หรือยัน ป้องกันมิให้ล้ม 
วิธีการผูก
1. ขึ้นต้นด้วยเงื่อนผูกซุง โดยควบไม้ทั้ง 2 ท่อน
2. พันขวางไม้ทั้ง 2 ด้าน
3. พันหักคอไก่
4. ลงท้ายด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น